Site MapContact Us
Cart Buy Now or Call 02-402-6117
081-359-6920
Search

ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล


ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ มีหน้าที่ที่จะต้องทำการเสียภาษีเช่นเดียวกันกับบริษัทส่วนบุคคลทั่วๆไป แต่จะมีข้อได้เปรียบตรงที่เนื่องจากเป็นองค์กรที่ดำเนินการในเรื่องการทำธุรกิจอย่างเต็มตัวจึงมีอัตราการเสียภาษีสูงสุดแค่ 30% และจะน้อยกว่านั้นถ้าทุนของการจดทะเบียนไม่ถึง 5 ล้านบาท

อีกทั้งสามารถหักค่าลดหย่อนและมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าบริษัทส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไปหลายเท่าตัวนัก แต่จะมีข้อเสียตรงที่กฎหมายได้ทำการระบุไว้ให้ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อใช้ในการตรวจสอบอย่างละเอียดด้วย ซึ่งในส่วนของรายละเอียดจะมีค่อนข้างมากและลึกกว่าโดยทั่วไป ซึ่งจะขอกล่าวคร่าวๆถึงขั้นตอนการเสียภาษีของธุรกิจนิติบุคคลดังต่อไปนี้

บริษัทนิติบุคคลจะมีขั้นตอนในส่วนของการจดทะเบียนที่จะต้องดำเนินการที่คล้ายคลึงกันกับบริษัทส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไป คือ 

ส่วนที่ 1 ต้องเริ่มไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลก่อน โดยสามารถไปขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจะใช้วิธีการจดทะเบียนออนไลน์ก็ได้เช่นเดียวกัน จากนั้นจึงไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปดำเนินการจดทะเบียนได้ที่พาณิชย์จังหวัด 

ส่วนที่ 2 การยื่นขอจดทะเบียนขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคล และจำเป็นต้องยื่นทำการจดทะเบียนในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการจดทะเบียนภาษีทั้ง 2 อย่างสามารถดำเนินการได้ที่กรมสรรพากร

การคำนวณภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลจะมีวิธีการคำนวณที่ค่อนข้างจะละเอียดและซับซ้อนกว่าภาษีเงินได้ประเภทบริษัทส่วนบุคคล โดยวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ ทำการคำนวณหาในส่วนของรายรับและรายจ่ายตลอดทั้งปี(12 เดือน หรือ 6 เดือนในกรณีของบริษัทนิติบุคคลที่เพิ่งจะตั้งใหม่) ให้ออกมาเป็นผลกำไรประกอบการสุทธิ ซึ่งผลกำไรสุทธิที่ได้ออกมาจะต้องสามารถยื่นแสดงเป็นเอกสารในทางบัญชีถึงที่มาที่ไปรายรับรายจ่ายได้ โดยมีวิธีการคิดอัตราภาษีดังนี้      

บริษัทนิติบุคลที่มีทุนการจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีผลกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาทจะต้องทำการเสียภาษี 15% มีผลกำไรสุทธิอยู่ระหว่าง 1-3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 25% และถ้ามีกำไรที่มากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษีในอัตรา 30% เท่านั้น ส่วนบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท จะเสียภาษีจากผลกำไรของการประกอบการสุทธิอยู่ที่ 30%      ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้วิธีการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนแล้วจึงนำมายื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยข้อมูลวิธีการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบสามารถดูเพิ่มเติมได้จากทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร     

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบของบริษัทนิติบุคคลควรจะให้ฝ่ายบัญชีเป็นผู้คิดคำนวณให้หรือถ้าเป็นบริษัทที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ยังไม่มีฝ่ายบัญชีก็ต้องทำการจ้างบริษัทที่รับทำบัญชีโดยด่วน เพื่อจะได้เข้ามาช่วยในเรื่องการดูแลทางด้านการเงินทั้งในส่วนของรายรับรายจ่ายและเรื่องการเสียภาษีตั้งแต่เริ่มต้นของบริษัท ไม่ควรที่จะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองเพราะเนื่องจากมีความซับซ้อนมากในรายละเอียด อีกทั้งยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทนิติบุคคลต้องมีนักบัญชีที่จบมาทางด้านนี้โดยตรงตามวุฒิการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการด้วย

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้บริษัทนิติบุคคลต้องทำการขอยื่นแบบภาษีปีละ 2 ครั้ง      

ครั้งแรกเรียกกันว่าการยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ(ครึ่งปี) ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 60 วันนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบรยะเวลาบัญชี โดยใช้เอกสาร ภ.ง.ด.51 เท่านั้นในการยื่นเรื่อง      
ครั้งที่สองหรือที่เรียกว่าการยื่นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ(สิ้นปี) ต้องยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีในปีนั้น โดยแบบเอกสารที่ใช้ในการยื่นคือ ภ.ง.ด.50 
ซึ่งในการยื่นทั้ง 2 ครั้งสามารถมาทำการยื่นด้วยตนเองหรือจะให้ตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทมาทำการยื่นแทนก็ได้ที่กรมสรรพากรถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถยื่นได้ที่ที่ว่าการอำเภอที่บริษัทตั้งอยู่ นอกจากนี้ในปัจจุบันทั้ง ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้แล้วที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร 

สถานที่ที่ใช้ชำระเงินภาษีนิติบุคคลถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานครให้มาชำระได้ที่กรมสรรพากรหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของประเทศไทย ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปชำระได้ที่สรรพากรที่ตั้งอยู่บนที่ว่าการอำเภอ หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับที่สำนักงานใหญ่ของทางบริษัทตั้งอยู่                

เนื่องจากการจ่ายภาษีในส่วนของบริษัทนิติบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นควรที่จะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องบัญชีโดยเฉพาะและมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแลให้ ส่วนผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจก็ควรรู้ไว้แค่ในส่วนของหลักการเบื้องต้นก็น่าจะพอ

การมีนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ในบริษัทเปรียบเสมือนการมีเพชรน้ำดีไว้ในครอบครองเลยก็ว่าได้ เพราะความเชี่ยวชาญของนักบัญชีจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่สามารถพอจะยอมรับได้ทำการซิกแซกหาช่องทางช่วยให้บริษัทจ่ายภาษีที่น้อยลงมากกว่าเดิมจากอัตราปกติ ซึ่งควรต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าการซิกแซกนี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่จ่ายค่าภาษีให้ประเทศชาติเลย แต่เป็นการจ่ายที่น้อยลงจากปกติตามที่กฎหมายได้เปิดช่องเอาไว้ให้ไม่ได้เป็นการกระทำผิดกฎหมายแต่ประการใด และอย่าคิดที่จะไม่จ่ายภาษีเป็นอันขาดเพราะรับรองว่าสุดท้ายสรรพากรจะต้องตามตรวจเจอและจะมีบทลงโทษอย่างร้ายแรงตามมาในท้ายที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเสียเลยที่ผู้ประกอบการจะต้องไปเสี่ยงอย่างแน่นอน



บทความโดย : incquity.com
ประกาศบทความโดย : https://www.prosoftmyaccount.com
Knowledge
การบัญชีสำหรับกิจการขนาดเล็ก