Site Map
Contact Us
Login
-- Product Web Sites --
Prosoft WINSpeed
Prosoft HRMI
Prosoft HCM
Prosoft CRM
Prosoft GPS
Prosoft POS
Prosoft ERP
Prosoft ibiz
SoGoodWeb.com
B2BThai.com
Lionjob.com
Vimannam Resort
Oon Valley
Buy Now
or Call
02-402-6117
081-359-6920
Home
Products
Overview
Online Demo
Key Feature
Product Details
Reports
Screenshots
Work Flow
Compare Database
System Requirement
Solutions
ธุรกิจผลิต
สำนักงานบัญชี
ธุรกิจนำเข้า
ธุรกิจบริการ
ธุรกิจซื้อมาขายไป
Services
FAQ Online
FAQ Video
Downloads
Maintenance
Contact Us
Requirement myAccount
Training
E-learning
Course Online
Examination online
Books
Customers
Customers
Success Stories
Knowledge
การบัญชีสำหรับกิจการขนาดเล็ก
ความรู้เบื้องต้น
คำศัพท์บัญชี
Company
Company Profile
History
Management Team
Gallery
Office Location
Financial
Awards & Standards
Social Enterprise
Our Business
Job Opportunity
Prosoft Group
Contact Us
News
Home
Knowledge
การบัญชีสำหรับกิจการขนาดเล็ก
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ถามว่า “นักบัญชี” ต้องรู้กฎหมายเหล่านี้จริงหรือ คำตอบคือ ควรจะทราบหลักการและแนวความคิดรวมทั้งหัวข้อต่างๆ และพร้อมที่จะสืบค้นหรืออ้างอิงได้ เมื่อจำเป็นครับ
ผมคิดว่านักบัญชีต้องศึกษาประมวลรัษฎากรอย่างเข้มข้นให้เข้าใจมากกว่ากฎหมายฉบับอื่นๆที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ให้รู้จักกฎหมายภาษีอากรชนิดที่ไม่น้อยกว่าความรู้ทางบัญชีเลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวพันอยู่ชนิดที่เรียกว่า “แยกกันไม่ออก”
ในปัจจุบันเมื่อใดที่กล่าวถึงวิธีการบันทึกบัญชีแล้ว จะต้องตามมาด้วยประเด็นทางภาษีเสมอ บางกรณี หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทางภาษีอากรอาจเป็นจุดที่ต้องทราบก่อนแล้วย้อนกลับมาที่การบันทึกบัญชีเสียด้วยซ้ำ ตัวอย่างคือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) เช่น ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมัน (ที่ใช้ซ่อมหรือใช้กับรถยนต์นั่ง) ทางภาษีไม่ให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นภาษีซื้อ (เพื่อนำไปหักกับภาษีขาย) กรณีเช่นนี้ การบันทึกบัญชีต้องบันทึกค่าซ่อมแซมโดยรวมยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต่างจากค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ ที่แยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปบันทึกเป็นภาษีซื้อ เป็นต้น
ส่วนกฎหมายฉบับอื่นๆนั้นอย่างน้อยนักบัญชีทุกคนควรได้อ่านผ่านสายตาเอาไว้ให้พอรู้ว่าในกฎหมายฉบับใดกล่าวถึงอะไรบ้าง อาจจะไม่ถึงขั้นเข้าใจลึกซึ้ง แต่ควรที่จะพอรู้และเข้าใจโครงสร้างของกฎหมายนั้นๆไว้ในหัว และมีไว้ในตู้หนังสือพร้อมจะเปิดเพื่อสืบค้นอ้างอิงได้ทันที นอกจากนี้ยังอาจจะทำเป็นแผนภูมิของหัวข้อเอาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในเวลาที่ต้องการ
ในคราวนี้จะขอเน้นกล่าวถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อว่า ป.พ.พ.) ก่อนครับ
หากมองอย่างกว้างๆ ไม่ระบุเจาะจงไปที่นักบัญชีแล้ว ผมคิดว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายที่อยู่ใกล้ตัวคนทั่วไปมากที่สุด เพราะมีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมต่างๆ การสมรส สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดากับบุตร การทำพินัยกรรมและมรดก การทำมาหากิน การเป็นหุ้นส่วนหรือจัดตั้งบริษัท การจัดการกับทรัพย์สินเงินทอง และหนี้สิน การไปทำสัญญากับบุคคลอื่น และการประกันภัย
ขอเสนอวิธีการอ่านประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจ เรียนรู้ อย่างง่ายๆตามประสาคนที่ไม่ใช่นักกฎหมายดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีทั้งสิ้น ๖ บรรพ (บรรพ แปลว่า หมวด ภาค หรือตอน) คือ
บรรพที่ 1
หลักทั่วไป มาตรา 4-193 (ประมาณ 224 ข้อ, มาตรา 193 มีถึง 193/35) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ บุคคล นิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา (เงื่อนไขและเงื่อนเวลา) และอายุความ
บรรพที่ 2
หนี้ มาตรา 194-452 (ประมาณ 258 ข้อ) เกี่ยวข้องกับเรื่องหนี้ สิทธิเรียกร้อง บุริมสิทธิ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้อง การชำระหนี้ สัญญา การจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด
บรรพที่ 3
เอกเทศสัญญา มาตรา 453-1297 (ประมาณ 824 ข้อ, มาตรา 1273 มีถึง 1273/4 และยกเลิกมาตรา 1274-1297 เรื่องสมาคม ที่ย้ายไปอยู่บรรพ 1) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ การเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย (ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต) ตั๋วเงิน หุ้นส่วนและบริษัท (ห้างหุ้นส่วน มาตรา 1025-1095, บริษัทจำกัด มาตรา 1096-1273/4)
บรรพที่ 4
ทรัพย์สิน มาตรา 1298-1434 (ประมาณ 136 ข้อ) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ กรรมสิทธิ์ ครอบครอง ภาระจำยอม อาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพที่ 5
ครอบครัวมาตรา 1435-1598/41 (ประมาณ 204 ข้อ, มาตรา 1598 มีถึง 1598/41) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การสมรส บิดามารดากับบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู
บรรพที่ 6
มรดก มาตรา 1599-1755 (ประมาณ 156 ข้อ) หมวดนี้เกี่ยวข้องกับ การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก สิทธิในการรับมรดก พินัยกรรม การจัดการมกดก อายุความ
มีข้อสังเกตว่าในบรรพ 3 ลักษณะ 22 จะว่าด้วยบริษัทจำกัดซึ่งในหมวดนี้จะมีจำนวน 178 มาตรา ถือว่าน่าจะเป็นหมวดที่มีจำนวนมาตรามากที่สุดในป.พ.พ. แล้ว วิธีลัดคือ หากหน้าที่งานของเราเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเราก็เจาะอ่านในมาตราที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เช่น หากทำงานในบริษัทประกันภัย ก็เจาะอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 20 ซึ่งแบ่งออกเป็นประกันวินาศภัยและประกันชีวิต เป็นต้น หากทำงานเกี่ยวกับเงินๆทองๆหรือเช็ค ก็ต้องอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 21 เรื่องตั๋วเงิน (ซึ่งมีทุกประเภทตั้งแต่ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เช็ค การสลักหลัง การอาวัล)
โดยทั่วไปอย่างน้อยนักบัญชีควรอ่านบรรพ 3 ลักษณะ 22 ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่การจัดตั้งบริษัท การถือหุ้น การจัดการบริษัท ซึ่งได้แก่ กรรมการ การประชุมใหญ่ บัญชีงบดุล เงินปันผลและการตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย การสอบบัญชี การเพิ่มทุนและลดทุน การออกหุ้นกู้ (ซึ่งระบุว่าบริษัทจะออกหุ้นกู้ไม่ได้) การเลิกบริษัท การควบบริษัท การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด การชำระบัญชี
เนื้อหาในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนตั้งแต่ การร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (เดิม 7 คนขึ้นไป) เพื่อจัดตั้งบริษัท ลักษณะของหุ้นของบริษัททั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ การตั้งบุคคลมาบริหารงานแทนผู้ถือหุ้น ที่เรียกว่ากรรมการ บทบาทหน้าที่ของกรรมการ เช่น การห้ามมิให้กรรมการประกอบการค้าขายใดๆอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัท เป็นต้น การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ การประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น การที่บริษัทต้องจัดทำบัญชี การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นไม่ใช่กรรมการบริษัทอย่างที่เข้าใจกัน หากแต่ในทางปฏิบัติกรรมการจะสรรหาผู้สอบบัญชีแล้วเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อลงมติรับรอง การอนุมัติงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี (ซึ่งมักเรียกกันว่าการประชุมผู้ถือหุ้น หรือ Annual General Meeting: AGM) การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (Extraordinary General Meeting: EGM) ข้อกำหนดเมื่อจะจ่ายเงินปันผล (มีทั้งเงินปันผลระหว่างกาลซึ่งจ่ายจากมติกรรมการและเงินปันผลที่จ่ายตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น) การกันเงินสำรองตามกฎหมายไว้ร้อยละ 5 ของกำไรจนกว่าจะครบร้อยละ 10 ของทุน การเลิกบริษัท และการชำระบัญชี ซึ่งหลายๆคนเข้าใจว่าเมื่อจดเลิกแล้วก็จบกัน แต่ในป.พ.พ.ระบุว่า เมื่อเลิกแล้ว บริษัทต้องตั้งผู้ชำระบัญชี (ซึ่งปกติมักจะตั้งผู้ซึ่งเคยเป็นกรรมการให้เป็นผู้ชำระบัญชี) และต้องดำเนินการชำระบัญชี ซึ่งหมายถึง การขายทรัพย์สิน การชำระหนี้สินที่คงค้างอยู่ ณ วันเลิก ให้เรียบร้อย และยื่นรายงานการชำระบัญชีต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงจะถือว่าเสร็จเรียบร้อยตามขั้นตอน เป็นต้น
จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นว่า หากนักบัญชีไม่อ่านป.พ.พ.โดยเฉพาะในบรรพ 3 ลักษณะ 22 แล้ว ก็ยากที่จะเข้าใจหรือจดจำขั้นตอนของการทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละรอบปีอย่างถูกต้อง และมักปฏิบัติไปตามที่เคยชินโดยอาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่มักทำกันไปอย่างผิดๆก็ได้
อ่านบทความนี้จบแล้วนักบัญชีอย่าลืมสละเงินสัก 200 กว่าบาท ไปร้านหนังสือซื้อประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาอ่านกันโดยเฉพาะในบรรพ 3 ลักษณะ 22 เป็นอย่างน้อยครับ ส่วนคนที่ไม่ใช่นักบัญชี ก็ไปซื้อมาอ่านบรรพ 5 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครอบครัว (อย่างน้อยก็จะได้รู้วิธีทำพินัยกรรม) เชื่อว่าเมื่อได้อ่านแล้วจะรู้สึกว่าเราไม่เคยให้ความสนใจเลยทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเหลือเกิน
บทความโดย
: วิโรจน์ เฉลิมรัตนา
ประกาศบทความโดย
:
https://www.prosoftmyaccount.com
ส่งให้เพื่อน
พิมพ์
เรียงตามลำดับแสดงผล
เรียงตามตัวอักษร
เรียงตามผู้เข้าชม
เรียงตามวันที่แก้ไข
เรียงตามวันที่สร้าง
น้อยไปมาก
มากไปน้อย
10
20
30
40
50
Prosoft Download
สมัครสมาชิกแล้ว
คลิกที่นี่
ต้องการสมัครสมาชิกใหม่
คลิกที่นี่
*
ชื่อ :
*
นามสกุล :
*
บริษัท :
*
ประเภทธุรกิจ :
*
อีเมล์ :
*
โทรศัพท์ :
Knowledge
การบัญชีสำหรับกิจการขนาดเล็ก
เป็น SME ทำ R&D ได้อะไร
5 แนวคิดเริ่มต้นพัฒนาสินค้าส...
เทคนิคทำการตลาด ในธุรกิจประเ...
ปัญหาของ SME ไทย (2)
ปัญหาของ SME ไทย (1)
การพิจารณานำมาตรฐานการรายงาน...
5 วิธีบริหารกระแสเงินสดอย่าง...
การวางแผนระบบบัญชีสำหรับธุรก...
บัญญัติ 10 ประการในการวางระบ...
มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่สำหรั...
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รั...
บริหารจัดการ SMEs ด้วยระบบบัญชี
ลักษณะของการวางระบบบัญชีที่ดี
ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว
จ้างบริษัททำบัญชีดีมั้ย ถ้าธ...
กระตุ้นยอดขายด้วย 7 กลยุทธ์ร...
กลยุทธ์การลงทุนปี 56
3 ไอเดียต่อยอดธุรกิจ
7 วิธี ช่วยจัดการ Cash Flow
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รู้จักกับเครดิตลิงค์โน้ต (CLN)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีก...
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ...
ลดภาษีกิจการขนาดย่อม
ประโยชน์ของการทำบัญชี
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นแ...
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการ...
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทน...
กลยุทธ์ภาษีธุรกิจขนาดเล็กเพื...
กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้
การบัญชีของกิจการขนาดเล็ก
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
การวางระบบบัญชีในธุรกิจขนาดย่อม
การบัญชีขนาดธุรกิจขนาดกลางแล...
ความรู้เบื้องต้น เมื่อเริ่มเป็น ...
คำศัพท์บัญชี Account Glossary
สนใจใช้โปรแกรม ฟรี 2 ปี
ร้องเรียนการให้บริการ
ติดต่อเรา
ดาวน์โหลด
กรุณากรอกอีเมล์ของท่าน เพื่อรับข่าวสารและโปรโมชั่นพิเศษจากเรา
Sign Up